ตัวอักษรวิ่ง

โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ ยินดีต้อนรับ

หนังสือราชการจาก สพป.ศก.4

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันแม่แห่งชาติ


พระราชประวัติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับหม่อมหลวง บัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ บิดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ที่ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเชษฐาและพระกนิษฐภคินี รวม 3 องค์



วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันอาสาฬหบูชา


ขอขอบคุณภาพประกอบจาก dhammathai.org 

          ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี พ.ศ.2555 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม และวันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 3 สิงหาคม

          ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 

          วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
          ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า  "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ 

          สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ 
    1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

           การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค 

           การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค 

          ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่       
           1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง 

           2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม 

           3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต 

           4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต 

           5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต 

           6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี 

           7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด 

           8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน 

    2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่      
           1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด  
    
           2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ  
    
           3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา  

           4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น 


กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา 

           พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา
 ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นอย่างนี้...

กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด











ข้อมูลบุคลากร


ข้อมูลทั่วไป


ข้อมูลการจัดการศึกษาของโรงเรียน  บ้านโนนสมบูรณ์

ข้อมูลทั่วไป
        ชื่อโรงเรียน  บ้านโนนสมบูรณ์   ที่ตั้ง  หมู่ที่  13  ตำบลขนุน  อำเภอกันทรลักษฺ  จังหวัดศรีสะเกษ   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต  4  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ

เขตพื้นที่บริการ
            โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์   มีหมู่บ้านในบริการ   2  หมู่บ้าน ดังนี้
               - หมู่ที่   3  บ้านโนนสมบูรณ์  ตำบลขนุน อำเภอกันทรลักษ์   จังหวัดศรีสะเกษ
               - หมู่ที่ 13  บ้านโนนสมบูรณ์   ตำบลขนุน  อำเภอกันทรลักษ์   จังหวัดศรีสะเกษ
       
ประวัติโรงเรียน
            โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์  ตั้งอยู่ที่บ้านโนนสมบูรณ์  หมู่  3  (ปัจจุบัน  ม.13)        ตำบลขนุน  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ  มีพื้นที่  25 ไร่  1 งาน 91.6  ตารางวา  โดยสร้างเสร็จเมื่อวันที่  1  พฤษภาคม  พ.ศ.  2522   เป็นเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว 3 ห้องเรียน  สร้างตามแบบ ป.1 ซ  จากการนำของนายเกด  กิ่งผา  ผู้ใหญ่บ้านโนนสมบูรณ์  พระครูอุดมมงคลกิจเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านโนนสมบูรณ์  และนายทองคำ  จำปารัตน์  ครูใหญ่โรงเรียนบ้านด่าน  ตำบลบึงมะลู  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ  พร้อมด้วยชาวบ้านโนนสมบูรณ์ได้สละแรงงาน  ทุนทรัพย์เพื่อสร้างอาคารเรียนโดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด
            โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่  1 พฤษภาคม พ.ศ. 2522  จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โดยแยกนักเรียนมาจากโรงเรียนบ้านท่าสว่าง  ตำบลบึงมะลู  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ  มีนักเรียน  จำนวน  137  คนและมี  ครู  2  คน คือนายจักรพงษ์  ขุนธิวงษ์  และนางประจักษ์  จำปาเณร  โดยมีนายทองคำจำปารัตน์  เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนนี้
            ปัจจุบันโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีนักเรียนทั้งสิ้น  147  คน  มีครูจำนวน  8  คน  ช่างคุรุภันฑ์  3  จำนวน  1  คนและมีนายสาริศ   ขำศรีบุศ  ตำแหน่งผู้อำนวยการการโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์  เป็นผู้บริหารโรงเรียนปัจจุบัน (  ข้อมูล  1  มิถุนายน 2553 )    (รายละเอียดประวัติโรงเรียนระบุไว้ในทะเบียนโรงเรียน)
1     มกราคม  2553  โรงเรียนได้จัดผ้าศิษย์เก่าได้เงินจำนวน 239,177.63 บาท   
        18  พฤษภาคม 2553 โรงเรียนต่อเติมอาคาร 105/29 ชั้นล่างจำนวน 4 ห้อง เป็นห้องอนุบาล 2 ห้อง ห้องประชุม 1 ห้อง และห้องสำนักงาน  1  ห้อง พร้องห้องน้ำในอาคารจำนวน 3 ที่ โดยใช้เงินผ้าศิษย์เก่าจำนวนทั้งสิ้น  236,300  บาท
        23  กรกฎาคม  2553   โรงเรียนได้จัดหาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนจำนวน  20 เครื่อง จากมูลนิธิกระจกเงา  โดยใช้เงินจากการบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียนและคณะครูเป็นเงินจำนวน  23,000  บาท
        21  สิงหาคม  2553    โรงเรียนได้รับการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการเรียนการสอนจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จำนวน  1 ชุด ประกอบด้วย  1)จาน  1  ใบ  2)เครื่องรับสัญญาณ IRD  จำนวน 6  เครื่อง   3) สมาร์ทการ์ด  จำนวน  6  ใบ  4)โทรทัศน์สี  21  นิ้ว  จำนวน  12 เครื่อง
ทำเนียบผู้บริหาร
1.นายทองคำ       จำปารัตน์        ครูใหญ่/อาจารย์ใหญ่    1  ก.ย.  2522-8  เม.ย.  2529
2.นายสมาน        ชิดดี              อาจารย์ใหญ่           15  เม.ย. 2529-1  ส.ค.   2533
3.นายโสม          ศรีอินทร์แก้ว    อาจารย์ใหญ่              9  ส.ค. 2533-2  พ.ย.  2535
4.นายสมจิตร      พรมพุ้ย          อาจารย์ใหญ่              1  เม.ย.  253๖-29  ก.ย.   2537
5.นายพันธ์ศักดิ์    กฤษฎารักษ์     อาจารย์ใหญ่/ผอ.ร.ร. 29  ก.ย.  2537-14   ต.ค.  2547
6.นายสมศักดิ์      เบ็ญมาศ         ผู้อำนวยการโรงเรียน 22  ต.ค.  2547-4  พ.ย.  2552
7.นายสาริศ        ขำศรีบุศ         ผู้อำนวยการโรงเรียน   9  พ.ย.  2552-ถึงปัจจุบัน

รายชื่อบุคลากร
1. นายสมร         สิงห์ด้วง         ครู/ชำนาญการพิเศษ            1  พ.ค.  2533
2. นางยุพิน         สว่างสุข         ครู/ชำนาญการพเศษ            3  มี.ค.  2526
3. นายไพทูรย์      กันยา            ครู/ชำนาญการ                  23  ก.ค. 2540
๔. นางบัวลา       เกรินเกริก       ครู/ชำนาญการพิเศษ           1   พ.ย.  2548
๕. นายวิชญ์วิสิฐ   เพิ่มเติมจิตร     ครู/ชำนาญการ                  10  ต.ค.  2548
7. นางสาววาสนา  บุญพา         ครูผู้ช่วย                  
๗. นางรัตยาพร    บุญพา           ครู/   -    
8. นางดวงใจ       ปวงสุข           ครู/ -                         15  พ.ย. 2553                
10.นายประมวล       เกรินเกริก       ช่างครุภัณฑ์  3             19  ก.ค.  2532
                                                (ข้อมูล ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖)

วิสัยทัศน์


วิสัยทัศน์
ภายในปี  2554  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์เป็นองค์กรจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ  มีคุณธรรมนำความรู้  จัดบรรยากาศห้องเรียนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้  นำเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการรู้  ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

พันธกิจ
1.  ส่งเสริมนักเรียนเป็นคนดี  มีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
2.  พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
          3.  สงเสริมนักเรียนให้มีสุขภาพ  ทางกาย  และจิตใจให้สมบูรณ์
          4.  ส่งเสริมบุคลากรกรจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  โดยใช้วิถีการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
          5.  สนับสนุนโดยใช้เทคโนโลยี  สื่อ  นวัตกรรมภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้
          6.  จัดบรรยากาศห้องเรียนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
          7.  พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
          8.  ส่งเสริม  สนับสนุน  บุคลากรให้มีคุณภาพ  ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

เป้าหมาย
1.  นักเรียนเป็นคนดี  มีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
2.  นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
          3.  นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพ  ทางกาย  และจิตใจให้สมบูรณ์
          4.  บุคลากรกรจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  และวิถีการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
          5.  โรงเรียนใช้เทคโนโลยี  สื่อ  นวัตกรรมภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม  ในการจัดการเรียนรู้
          6.  โรงเรียนมีการจัดบรรยากาศห้องเรียนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
          7.  โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ
          8.  บุคลากรของโรงเรียนมีคุณภาพ  ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

วันเข้าพรรษา





การปฏิบัติตัวของชาวพุทธในช่วงเข้าพรรษา 


          ในช่วงเข้าพรรษา พระเก่าพระใหม่ ท่านอยู่กันพร้อมหน้า เมื่ออยู่พร้อมหน้ากันอย่างนี้ ก็เป็นโชคดีของญาติโยม โชคดีอย่างไร โชคดีที่เนื้อนาบุญอยู่กันพร้อมหน้า ญาติโยมตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตาทวด ท่านไม่ปล่อยให้พระเข้าพรรษาเพียงลำพัง ญาติโยมก็พลอยเข้าพรรษาไปด้วยเหมือนกัน แต่ว่าเข้าพรรษาของญาติโยมนั้น เข้าพรรษาด้วยการอธิษฐานจิต

หลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีแม่บทไว้ชัดอยู่ 3 ข้อ คือ


1.ละ ชั่ว
2.ทำดี
3.กลั่นใจให้ใส

          เมื่อพระอยู่จำพรรษา ท่านก็มีหน้าที่ของท่านว่า ละชั่ว คำ ว่า ละชั่วของพระนั้น ไม่ใช่ ชั่ว หยาบๆอย่าง ที่มนุษย์เป็นกัน แต่ว่าละชั่วของท่านในที่นี้หมายถึงละกิเลส ซึ่งแม้ในเรื่องนั้นโดยทางโลกแล้ว มองไม่ออกหรอกว่ามันเป็นความชั่ว ความไม่ดี เช่น มีจิตใจฟุ้งซ่าน ความจริงก็อยู่ในใจของท่าน คนอื่นมองไม่เห็น ถึงขนาดนั้น ท่านก็พยายามจะละความฟุ้งซ่านของท่านให้ได้ ด้วยการเจริญภาวนา หรือทำสมาธิให้ยิ่งๆขึ้นไป เป็นต้น ท่านก็ละกิเลสหรือละชั่วที่ละเอียดๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้สมกับภูมิแห่งความเป็นพระของท่าน